1. ความหมายของการบัญชี
ตามคำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(AICPA)มาจากคำเต็มว่า The American Institute of Certified Public Accountants ซึ่งได้ให้ คำจำกัดความเกี่ยวกับการบัญชีไว้ดังนี้ การบัญชี(Accounting)เป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปเงินตรา การจัดหมวดหมู่หรือจำแนกประเภทของรายการเหล่านั้น การสรุปผล รวมทั้งการตีความหมายของผลเหล่านั้น
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของ“การบัญชี” ดังนี้ การบัญชี หมายถึง ศิลปะการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ
จากคำจำกัดความที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า “การบัญชี” เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่าเสมอ โดยจัดแยกประเภท เป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
ส่วนคําว่า การจัดทําบัญชี (Bookkeeping) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ส.บช.)ได้ให้คําจํากัดความว่า หมายถึง “การจดบันทึกทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสาร บันทึกรายการในสมุดบัญชีขั้นต้น จําแนกและจัดหมวดหมู่รายการในสมุดบัญชีขั้นปลาย ลักษณะงานการจัดทําบัญชีจะซ้ำซากและเป็นงานเสมียน ผู้ปฏิบัติงานหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้จัดทําบัญชี( Bookkeeper) ซึ่งแตกต่างกับ นักบัญชี(Accountant)คือ ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงิน การวางแผนระบบบัญชีให้กิจการ ควบคุมการบันทึกบัญชีทั้งหมด กําหนดนโยบายทางการบัญชี สามารถประกอบอาชีพผู้สอบบัญชีให้คําปรึกษาทางภาษีอากรของกิจการต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป เป็นต้น
2. ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี
การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง
2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book - keeping) ในปลายศตวรรษที่13ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ.1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี
3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี
5. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งกําหนดผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีในประเทศไทยไว้ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจํากัด
3. บริษัทมหาชนจํากัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการรวมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบการธุรกิจป็นประจําในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้น เป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
7.บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
8. ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี
แม่บทบัญชีงบการเงินที่กิจการต่าง ๆ ได้จัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ ดังนั้นการจัดทำงบการเงินจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และข้อสมมติทางการบัญชีในการจัดทำ เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องยุติธรรมต่อผู้ใช้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แม่บทบัญชี (Accounting Framework) เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน และคำนิยามขององค์ประกอบนั้น รวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่ารายการ และแนวคิดเกี่ยวกับทุนและ การรักษาระดับทุนที่ใช้วัดผลกำไรในงบการเงิน โดยมีสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกใช้ เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ 2542 สำหรับแม่บทบัญชีที่ออกนี้มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและพัฒนามาตรฐานการบัญชีที่จะใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting Standard หรือIAS)
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี มีดังนี้
1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)เป็นข้อสมมุติที่ถือว่างบ การเงินต้องจัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง โดยต้องรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีเมื่อเกิดรายการ ไม่ใช่เมื่อรับหรือจ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด ดังนั้นเกณฑ์คงค้างเป็นวิธีการบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดเวลาต่างๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่ พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดเวลานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้เงินมาแล้วหรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ตามเกณฑ์เงินสด
2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern )
โดยทั่วไปงบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่า กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสมมติว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นดังกล่าว งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้นั้นในงบการเงินด้วย การดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่อง ต้องดำรงอยู่ตลอดไปโดยแบ่งเป็นงวด ๆ ตามกำหนดงวดบัญชีของธุรกิจ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี การจัดทาบัญชีในปัจจุบัน ผู้จัดทำบัญชีจะต้องศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับแม่บทการบัญชีเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการเงินและการนำเสนองบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ในด้านการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง และที่สำคัญข้อมูลต้องเชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลประกอบวิชาชีพได้ทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชี โดยกำหนดขึ้นมาเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกและเพื่อสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการทำบัญชีและต้องการให้ชาวบ้านทำบัญชีเป็น
ข้อสมมติฐานของการบัญชีตามข้อกำหนดของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวคิดพื้นฐานของการบัญชีเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการจัดทำงบการเงิน มีดังนี้
1. หลักในการใช้หน่วยเงินตราในการบัญชี การบันทึกบัญชีจำเป็นต้องมีเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้ผู้อ่านรายงานการเงินเข้าใจได้ง่าย
2. หลักความเป็นหน่วยของกิจการ ในทางการบัญชีให้ถือว่า กิจการเป็นบุคคลสมมุติ แยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ จึงต้องทำบัญชีของกิจการแยกจากเจ้าของเพื่อให้การบัญชีนั้น แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเจ้าของกิจการ
3. หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม การบันทึกรายการบัญชี และการจัดทำรายงานการเงิน จำเป็นต้องใช้หลักฐานและข้อเท็จอันเที่ยงธรรมที่บุคคลต่าง ๆ ยอมรับและเชื่อถือได้ หลักฐานต่าง ๆ นั้นจะต้องปราศจากความลำเอียง และพยายามหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนบุคคล หรือมีอคติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
4. หลักรอบเวลา ผู้ใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ย่อมต้องการทราบผลการดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆในระยะเวลาต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็นรอบเวลา เรียกว่า งวดบัญชี เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบงบการเงิน
5. หลักความดำรงอยู่ของกิจการ นักบัญชีมีข้อสมมุติฐานเบื้องต้นว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ไม่ตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงาน แต่ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินงานต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลาว่าจะเลิกกิจการเมื่อไร และมีช่วงเวลาเพื่อการดำเนินงานนานพอที่จะปฏิบัติตามแผนงาน และข้อผูกพันต่าง ๆ ที่ได้ก่อขึ้นจนกว่าจะแล้วเสร็จ
6. หลักราคาทุน ในการบันทึกรายการสินทรัพย์ และหนี้สิน ถือเกณฑ์ราคาต้นทุน ซึ่งเกิดจากการซื้อขายที่คำนวณได้อย่างมีหลักเกณฑ์ โดยไม่คำนึงถึงราคาในอดีต หรืออนาคต ตลอดจนราคาตามความคิดเห็นของบุคคลใด ๆ
7. หลักการเกิดขึ้นของรายได้ ทางการบัญชีรายได้เกิดขึ้นเมื่อการส่งมอบสินค้า หรือบริการให้แก่ลูกค้า ตามจำนวนเงินที่รับหรือคาดว่าจะได้รับ
8. หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้ หลักการจับคู่ค่าใช้จ่ายกับรายได้เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินว่า รายการใดบ้างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ โดยการบันทึกรายได้ตามหลักการเกิดขึ้นของการได้ก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปจับคู่กับรายได้ เพื่อหาผลการดำเนินงานของกิจการ
9. หลักเงินค้าง เป็นหลักที่ใช้ในการคำนวณหาผลกำไรขาดทุน โดยพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายสำหรับงวดบัญชีนั้น ๆ รายได้และค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาพิจารณาตามหลักเงินคงค้าง ได้แก่ รายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ และการคิดค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ
10. หลักโดยประมาณ การหาผลการดำเนินงานของกิจการในงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ทำได้โดยการนำรายได้และค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ๆ มาคำนวณ กิจการบางอย่างอาจมีลักษณะซับซ้อน ไม่อาจหารายได้และค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง แน่นอน จึงต้องอาศัยหลักการประมาณและดุลยพินิจมาประกอบ เช่น การหาค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ทำได้โดยการประมาณจากอายุการใช้งาน
11. หลักความสม่ำเสมอ งบการเงินที่จัดทำขึ้นในระยะเวลาที่ต่างกัน โดยอาศัยมาตรฐานหรือวิธีบัญชีเดียวกัน โดยยึดหลักความสม่ำเสมอย่อมมีประโยชน์ช่วยในการตัดสินใจได้ดีกว่างบบัญชีที่ทำขึ้น โดยอาศัยหลักการบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน
12. หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ การเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ หมายความว่าถ้าไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นแล้วจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ การเปิดเผยข้อมูลไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่าเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ควรมีลักษณะอย่างไร แต่หมายถึง การเปิดเผยรูปแบบการจัดทำรายการข้อมูลในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
เกณฑ์ในการวัดค่า ตามแม่บทบัญชีมีดังนี้
ราคาทุนเดิม การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มา ซึ่งสินทรัพย์นั้น บันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ ของกิจการ
ราคาทุนปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ต้องจ่ายในขณะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
มูลค่าที่จะได้รับ การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่อาจได้มาในขณะนั้น หากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขาย และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อ ชำระหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ
มูลค่าปัจจุบัน การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ
9.สถาบันที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
สถาบันที่มีบทบาทเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันที่สําคัญ มีดังนี้
1. Financial Accounting Standard Board (FASB) เป็นคณะกรรมการตั้งขึ้นโดย AICPAเพื่อศึกษาและจัดทํามาตรฐานการบัญชี จึงเป็นหน่วยงานหลักที่กําหนดหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องปฏิบัติตาม
2. The American Institute of Certified Public Accountants (AICPA) เป็นสถาบันทางการบัญชีที่ช่วยส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพและมาตรฐานทางการบัญชีและออกมาตรฐานการสอบบัญชี เพื่อช่วยผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบ
3. The American Accounting Association (AAA) เป็นสมาคมวิชาชีพบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยค้นคว้า เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางทฤษฎีการบัญชี และปรับปรุงหลักการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
4. Asean Federation of Accountants (AFA) เป็นสหพันธนักบัญชีแห่งอาเซียน ประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการบัญชีปรับมาตรฐานการบัญชีในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกัน
5. สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions) มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชีโดยทําหน้าที่กําหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี กําหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่างๆเพื่อประโยชน์ในการรับสมัครสมาชิก เป็นต้น
10. จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
จริยธรรมเป็นเรื่องพฤติกรรมของคนในทุกอาชีพที่ควรตระหนัก ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง สังคมนั้นจึงเป็นสังคมแห่งความสันติสุข ดังนั้น จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้อง หรือหลักแห่งการปฏิบัติตนที่ยึดความถูกต้องเป็นนิสัย วิชาชีพบัญชีเป็นนึ่งในหลาย ๆ วิชาชีพที่ควรตระหนักถึงความสําคัญในการประกอบวิชาชีพด้วยหลักการแห่งความถูกต้อง เป็นธรรม โดยกําหนดเป็น จรรยาบรรณไว้ให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงานในวิชาชีพของตน และหากประพฤติปฏิบัติผิดจรรยาบรรณจะได้รับโทษตามที่กําหนด สําหรับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ได้กําหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้จัดทำโดยมีข้อกําหนดอย่างน้อย 4 เรื่อง ดังนี้1. ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
2. ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
4. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคล ที่ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ให้
ดังนั้นจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (profession of accounting ethics) จึงหมายรวมถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมอันถูกต้อง หรือเป็นธรรม ซึ่งเกิดจากจิตสํานึกที่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นหรือสังคม และเป็นพฤติกรรมที่กระทําตามหลักการที่กําหนดความถูกต้องตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือตามมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของซึ่งได้กําหนดไว้ตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่ว่าจะปฏิบัติงานในด้านการทําบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชีและบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ในการปฏิบัติงานจะต้องมั่นใจว่าได้ทํางานด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์ และยุติธรรม หากมีแนวปฏิบัติให้เลือกผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีพึงใช้วิจารณญาณโดยสุจริต เพราะผลงานซึ่งเป็นข้อมูลทางการบัญชีจะถูกเสนอต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกกิจการ และมีความหมายต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นยังรวมถึงการรักษาความลับของข้อมูลทางการบัญชีที่นักบัญชีไม่ควรนําไปใช้แสวงหาผลปรโยชน์ต่อตนเองหรือทําให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
13. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
งบแสดงฐานะการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่ทําขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทอะไร เป็นมูลค่าเท่าใด และมีทุน (ส่วนของเจ้าของ) เป็นจํานวนเงินเท่าใด” และในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน จะถือหลักความสัมพันธพื้นฐานจากสมการบัญชีซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สินทรัพย์ (assets) หมายถึง“ทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของกิจการซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตและก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ สินทรัพยนั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ และอาจเคลื่อนที่ได้หรือเคลื่อนที่ไม่ได้ก็ได้ ซึ่งกิจการได้มาโดยการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือผลิตขึ้นเอง อันเป็นเหตุการณ์ในอดีตและสินทรัพย์นั้น มีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดทั้งทางตรงและทางอ้อมแกกิจการที่เรียกวา ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต” (สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 3) สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่ หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,2546, หน้า 17) สินทรัพย์จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือตั้งใจจะขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติของกิจการ
2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
3. คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)4. เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด และไม่มีข้อจํากัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้ชําระหนี้ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน)
สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รอบระยะเวลาการดําเนินงาน หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ได้สินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดําเนินงานจนกระทั่งได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุรอบระยะเวลาการดําเนินงานได้ชัดเจน ให้ถือว่าระยะเวลาการดําเนินงานมีระยะ 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล(งบแสดงฐานะการเงิน)
การแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน จะเรียงตามลําดับรายการที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย)ไปหารายการที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุด ดังนี้
1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (current assets) หมายถึง เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งไม่มีข้อจํากัดในการใช้ กิจการมีวัตถุประสงค์หลักที่จะถือสินทรัพย์ไว้เพื่อการค้า หรือถือไว้ในระยะสั้น และกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ หรือกิจการมีสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อขาย หรือเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินงานตามปกติ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดข้างต้นให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 2546, หน้า 450) การแสดงสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุลมักจะเรียงลําดับรายการที่เปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายมากที่สุดไว้ก่อน ดังนี้
1.1.1 เงินสด หมายถึง เงินสดในมือ และเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 7) เงินสดในมือรวมถึง เงินเหรียญ (coins) ธนบัตร (currency) เช็คที่ยังไม่ได้นําฝาก เช็คเดินทาง (travelers checks) ดราฟต์ของธนาคาร (bank drafts) และธนาณัติเงิน สด (money orders)เงินฝากธนาคารถือได้ว่าเป็นเงินสดที่มีไว้เพื่อใช้ในการดําเนินงานในปัจจุบัน
1.1.2 เงินลงทุนระยะสั้นถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด (cash equivalents) ที่มีสภาพคล่องสูงพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจํานวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า น้อยหรือไม่มีนัยสําคัญ(สภาวิชาชีพบัญชี, 2549,หน้า 8) เช่น พันธบัตรรัฐบาล (treasury bills) กองทุนตลาดเงิน (money market funds) และตั๋วเงินคงคลัง(commercial paper) ที่มีอายุใกล้ถึงกําหนดไถ่ถอน (ปกติไม่เกิน 3 เดือน)
1.1.3 เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินฝากธนาคารประเภทประจํา เงินฝากออมทรัพย์หรือหลักทรัพยที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อหาดอกผลจากการลงทุนนั้น หลักทรัพยที่ซื้อนั้นต้องอยู่ในความต้องการของตลาดและจะขายเมื่อต้องการใช้เงินสด ประกอบด้วย หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เพื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จะครบกําหนดภายในหนึ่งปี
1.1.4 ลูกหนี้ (receivable) หมายถึง สิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปเงินสด สินค้า หรือบริการ ลูกหนี้ที่คาดว่ากิจการจะได้รับชําระเงิน ภายใน 1 ปี จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ลูกหนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า (account receivable หรือ trade receivable) และลูกหนี้อื่น (other receivableหรือnon trade receivable)
1.1.5 ตั๋วเงินรับ (notes receivable) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 68) หมายถึง คํามั่นสัญญาที่เป็นลายลักษณอักษรโดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งรับชําระเงินจํานวนที่แน่นอนจํานวนหนึ่งให้แก่อีกบุคคลหนึ่งภายในเวลาที่กําหนด ตั๋วเงินรับ ได้แก่ ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) และตั๋วแลกเงิน (bill of exchange)
1.1.6 รายได้ค้างรับ (accrued income) หมายถึง รายได้ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงิน เช่น กิจการได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเงินค่าบริการดังกล่าวจากลูกค้า ในวันสิ้นงวดบัญชีจะถือว่ามีรายได้ค้างรับเกิดขึ้นแล้ว
1.1.7 สินค้าคงเหลือ (inventories) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจโดยปกติสําหรับกิจการซื้อมาขายไป หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นสินค้าสําเร็จรูปเพื่อขาย หรือมีอยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าสําหรับกิจการที่ทําการผลิต(สภาวิชาชีพบัญชี,2549, หน้า 39)
1.1.8 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (prepaid expenses) ตามศัพท์บัญชี (สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, 2538,หน้า 74) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปก่อนสําหรับสินทรัพย์หรือบริการที่จะได้รับประโยชน์ในอนาคตและจะใช้หมดไปในระยะเวลาอัน สั้น มักจะเกิดขึ้นในการดําเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ค้าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (non current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที หรือภายในอนาคตอันใกล้ หรือภายในรอบระยะเวลาดําเนินงาน ซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีดังนี้
1.2.1 เงินลงทุนระยะยาว (long –term investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปี ได้แก่ หุ้นกู้พันธบัตร ซึ่งกิจการยังมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเงินลงทุนระยะยาวจะหมายรวมถึง ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป และตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อขาย และตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า46)
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (investment property) หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์
1.2.3 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (property ,plant and equipment) หมายถึง ทรัพย์สินที่มีตัวตนที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต ใช้ในการจําหนายสินค้า ให้บริการ ให้ผู้อื่นเช่า ใช้ในการบริหารงานกิจการได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาด้วยการซื้อหรือสร้างขึ้นเอง โดยมีความตั้งใจว่า จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นต่อเนื่องตลอดไป ไม่ตั้งใจที่จะมีไว้เพื่อจําหน่าย
1.2.4 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน ที่สามารถระบุได้ และไม่มีรูปร่าง (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549, หน้า 37) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจําหน่ายสินค้า หรือให้บริการเพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ (copyrights) สิทธิบัตร(patents) เครื่องหมายการค้า(trademarks)สัมปทาน (franchises) เครื่องหมายการค้า(Trademarks)ค่าความนิยม (goodwill)สิทธิการเช่า (lease hold) เป็นต้น บันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันที่ไดรับมาโดยใช้หลักราคาทุน
1.2.5 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
1.2.6 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (other non – current assets) เป็นสินทรัพย์ที่กิจการสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการผลิต การดําเนินงานที่มีระยะยาว ซึ่งเป็นทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ได้จัดไว้ในประเภทสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
2.หนี้สิน (liabilities) หมายถึง “ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้ กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ” (สภาวิชาชีพ บัญ ชี, 2549, หน้า 45) หนี้สิน หรือ ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการเกิดจากหน้าที่และความรับผิดชอบของกิจการที่กระทําการตามปกติของการดําเนินงานตามประเพณีการค้า ทําให้เกิดเจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้การค้า ถ้าเกิดจากการกู้ยืมเงิน เรียกว่า เจ้าหนี้เงินกู้ ซึ่งทําในรูปสัญญาเงินกู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ถ้าเป็นหนี้ประเภทตั๋วเงิน เรียกว่า ตั๋วเงินจ่าย นอกจากนั้นเป็นภาระผูกพันที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จ่าย เรียกว่า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหนี้สินแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2546, หน้า 18)
2.1 หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities) หมายถึง หนี้สินที่ถึงกําหนดชําระภายในระยะเวลา 12เดือนนับ จากวันที่ในงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน) และกิจการคาดว่าจะชําระหนี้สินคืนภายในระยะเวลาดําเนินงานปกติ หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. คาดว่าจะมีการชําระภายในรอบระยะเวลาดําเนินงานตามปกติ
2. มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
3. ถึงกําหนดชําระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
4. กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชําระหนี้ออกไปอีกไม่น้อยกว่า 12เดือนนับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)
หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน รายการที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
2.1.1เงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืม ระยะสั้น จากสถาบันการเงิน (bank overdrafts and short – term loan) หมายถึง จํานวนเงินที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคาร อันเกิดจากการสั่งจ่ายเงินเกินกว่าจํานวนเงินที่ฝากไว้ และหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินไม่ว่าโดยวิธีใดซึ่งจะต้องชําระเงินคืนในระยะเวลาสั้น
2.1.2 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (trade and other payables) เจ้าหนี้การค้า หมายถึง เงินที่กิจการค้างชําระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือใช้ในการผลิตหรือใช้ในการบริการตามปกติ และตั๋วเงินจ่ายที่กิจการออกให้เพื่อชําระค่าสินค้าหรือบริการเจ้าหนี้อื่น หมายถึง เจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น รายได้รับล่วงหน้า (unearned revenue)ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (accrued expenses)
2.1.3 ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกําหนดภายในหนึ่งปี
2.1.4 เงินกู้ยืมระยะสั้น หมายถึง เงินกู้ยืม ระยะสั้น จากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกู้ยืมจากบริษัทย่อยและบริษัทรวม และการกู้ยืมระยะสั้นอื่น เช่น ตั๋วเงินจ่าย การกู้เงินมักจะอยู่ในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน และการใช้ตั๋วเงินจ่ายเพื่อเป็นคํามั่นสัญญาจะชําระเงินจํานวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งในเวลาที่กําหนด เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
2.1.5ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (tax payables) หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย
2.1.6 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น (short-term provisions) หมายถึง หนี้สินที่คาดว่าจะถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปีนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระยะเวลาและจํานวนเงินที่ต้องจ่ายชําระ
2.1.7หนี้สินหมุนเวียนอื่น (other current liabilities) หมายถึง หนี้สินหมุนเวียนอื่นนอกเหนือไปจากที่กําหนดไว้ข้างต้น
2.1.8 หนี้สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (non – current liability) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชําระเงินคืนเกินกว่าระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่ในแสดงฐานะการเงิน(งบดุล)หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดําเนิน งานตามปกติของกิจการ ได้แก่เงินกู้ยืมระยะยาว หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานประมาณการหนี้สินระยะยาว

14. การจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน
สามารถจัดทําได้ 2 แบบ คือแบบบัญชี และแบบรายงาน
1.แบบบัญชี (account form) หรือแบบตัว T (T –account) เป็นแบบที่แยกแสดงรายการออกเป็น2ด้าน ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์ ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของ การจัดทํางบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชีมีขั้นตอนดังนี้
1.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่จดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด
1.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ
1.3 ด้านซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์เรียงลําดับตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ โดยเริ่มด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตามลําดับ
1.4 ด้านขวาแสดงรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยเริ่มจากหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ
1.5 รวมยอดเงินด้านซ้าย (ยอดรวมสินทรัพย์) และ รวมยอดเงิน ด้านขวามือ (ยอดรวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ) ซึ่งต้องเท่ากันทั้งสองด้าน
2. แบบรายงาน (report form) เป็นแบบที่แสดงรายการเป็นหมวดหมู่ เรียงรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ โดยมีขั้นตอนการจัดทํางบแสดงฐานะการเงินได้ดังนี้2.1 เขียนชื่อกิจการ งบแสดงฐานะการเงินและวันที่ที่จัดทําข้อมูลไว้ตรงกลางหน้ากระดาษแยกแต่ละบรรทัด
2.2 เขียนหน่วยเงินตราไว้ด้านขวามือของหน้ากระดาษ
2.3 เขียนคําว่า สินทรัพย์ กลางหน้ากระดาษและแสดงรายการสินทรัพย์เรียงตามลําดับสภาพคล่องโดยเริ่มจากสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมยอดแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น
2.4 เขียนคําว่า หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตรงกลางหน้ากระดาษ และแสดง รายการเรียงตามหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของ ตามลําดับ รวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งสิ้น
สรุป
การบัญชีเกิดขึ้นมาพร้อมกับการประกอบธุรกิจการค้าตั้งแต่ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14ปรากฏหลักฐานที่สมบูรณ์ว่ามีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี มีชาวอิตาเลียนชื่อ ฟรา ลูกา ปาซิโอลิ ได้เขียนหลักการบัญชีคู่ไว้ในหนังสือคณิตศาสตร์ โดยใช้พีชคณิตเป็นพื้นฐานว่า สินทรัพย์เท่ากับหนี้สินบวกส่วนของเจ้าของ และผลรวมด้านเดบิตเท่ากับเครดิต สําหรับการบัญชีในประเทศไทยปรากฏหลักฐานมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัทรัตนโกสินทร์ศก130 (พ.ศ. 2455) กําหนดให้บริษัทต้องจัดทําบัญชีและมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
การทําบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชี โดยการทําบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องการจดบันทึกรายการทางการเงิน การจําแนกข้อมูลที่จดบันทึกออกเป็นหมวดหมู่และสรุปผลจัดทํางบการเงินตามที่วางระบบบัญชีไว้ แต่การบัญชีจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ที่กว้างกว่า คือ นอกจากจะทําบัญชีแล้วยังสามารถออกแบบและวางระบบบัญชี การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลของงบการเงินและตรวจสอบบัญชี เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจํากัด บริษัทมหาชน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด เป็นต้น
ผู้ทําบัญชี หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 มีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่า อนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น สูงทางการบัญชีทําบัญชีในกิจการที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีทรัพย์สินรวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ถ้าเกินกว่าผู้ทําบัญชีต้องมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า
แม่บทการบัญชี เป็นเกณฑ์หรือแนวคิดพื้นฐานในการจัดทําและนําเสนองบการเงินแก่ผู้จัดทําและผู้ใช้งบการเงินมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน แนวคิดเกี่ยวกับการวัดมูลค่าและแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
สถาบันที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ออกมาตรฐานทางการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี มาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี เป็นต้น
จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หมายถึง ความประพฤติหรือพฤติกรรมที่ถูกธรรม หรือเป็นธรรมซึ่งเกิดจากจิตสํานึกรับผิดชอบ และพฤติกรรมที่ต้องกระทําตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
งบการเงินเป็น รายงานเสนอข้อมูล ทางการเงินที่มีแบบแผนอันเป็น ผลมาจากการประกอบธุรกิจของกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับงวด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสําหรับงวด งบกระแสเงินสดสําหรับงวด หมายเหตุประกอบงบการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด ที่นํามาเปรียบเทียบงวดแรกสุดเมื่อกิจการได้นํานโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง